วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556


นาฏยทฤษฎี ๑/๑๐
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์
ราชบัณฑิต สาขานาฏกรรม สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
เอกสารประกอบกาารบรรยาย สำนักศิลปกรรม วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕

บทคัดย่อ
นาฏยทฤษฎี หมายถึง หลักคิดและหลักปฏิบัติของสาขาวิชานาฏกรรม เพื่อเป็นแนวทางสร้างสรรค์ความงามและความสำเร็จของการแสดง  โดยข้อมูลคือการปฏิบัติของนาฏกรรมที่สั่งสมมานานทั้งข้อดีและข้อเสีย มาวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยนักคิดแล้วจารึกไว้เป็นตำราสำหรับผู้มุ่งศึกษาด้านนาฏยศาสตร์สืบมา นาฏยทฤษฎีที่นิยมนำมาศึกษา ๔ ทฤษฎี คือ
๑. โพเอติกา ของ อริสโตเติ้ล กรีก ๒. นาฏยศาสตร์ ของ ภรตมุนี อินเดีย ๓. ฟูจิคาเด็ง ของ โมโตกิโย ซิอามิ ญี่ปุ่น ๔. สตานิสลาฟสกี้ซิสเต็ม ของ คอนสแตนติน เซเกเยวิช สตานิสลาฟสกี้ รัสเซีย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายทฤษฎีที่ผู้ศึกษาด้านนาฏยศิลป์ต้องเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการสร้างสรรค์การแสดงให้สำเร็จ ได้แก่ ทฤษฎีดุริยางคศิลป์ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ทฤษฎีจลนศิลป์ ทฤษฎีนิเทศศิลป์ และเพื่อให้ผู้ศึกษาประกอบกิจการทางนาฏกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้ศึกษาก็ต้องมีความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับงานนาฏกรรม ได้แก่ ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ พานิชยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ การสร้างหลักสูตรสาขาวิชานาฏยศาสตร์ แบ่งกลุ่มวิชาออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ กลุ่มวิชาบรรยาย กลุ่มวิชาปฏิบัติบรรยาย และ ปฏิบัติบรรยายสร้างสรรค์ กลุ่มวิชาบรรยาย มีเนื้อหาหลัก ๑๐ วิชาคือ นาฏยประวัติ(History) นาฏยวิจัย(Research) นาฏยรังสรรค์(Design) นาฏยธุรกรรม(Management) นาฏยประดิษฐ์(Choreography) นาฏยวรรณกรรม(Literature) นาฏยดุริยางค์(Music) การแสดงและการกำกับการแสดงละคร(Acting and Directing) นาฏยทฤษฎี(Theory) กลุ่มวิชาปฏิบัติบรรยาย มีเนื้อหาหลัก ๓ กลุ่มวิชาคือ นาฏยกรรมแบบประเพณี นาฏกรรมแบบสร้างสรรค์
จากวิชาต่าง ๆ ที่กล่าวมาในเบื้องต้น แสดงให้เห็นว่าการศึกษาด้านนาฏยศิลป์ต้องมีเนื้อหาของวิชาสาขาต่าง ๆ อย่างมากเพื่อให้ผู้ศึกษาได้นำไปประกอบอาชีพนาฏกรรมสาขาต่าง ๆ ได้สำเร็จผลตามที่ตนถนัดและสนใจ
บทความ
นาฏกรรม เป็นคำที่สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน กำหนดเรียกวิชาสาขาหนึ่งที่ในปัจจุบันมีการจัดการศึกษาด้านนาฏกรรมในระดับอุดมศึกษา โดยมีการเรียกเป็นหลายชื่อ เช่น นาฏศิลป์ นาฏยศิลป์ ศิลปะการแสดง ศิลปการแสดง ศิลปการละคร เป็นต้น เนื้อหาของหลักสูตรมีรายวิชาตามเกณฑ์ของสำนักการอุดมศึกษา คือ วิชาการศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต วิชาเลือกเสรี ๖ หน่วยกิต และประมาณการ วิชาแกนคณะ ๙ หน่วยกิต วิชาเอกบังคับ ๔๘ หน่วยกิต วิชาเอกเลือก ๑๘ หน่วยกิตวิชาบูรณาการ ๖ หน่วยกิต รวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า ๑๒๐ หน่วยกิต ซึ่งหลักสูตรสาขาวิชานาฏกรรมมักจัดให้นินิตนักศึกษาเรียน ประมาณ ๑๓๒-๑๓๖ หน่วยกิต ลดลงจากเดิมซึ่งเคยเรียนถึง ๑๔๘ หน่วยกิตก็มี การผลิตบัณฑิตสาขานี้มีวิชาที่บังคับเรียน ๙ หมวดคือ นาฏยประวัติ(History of Performing Arts) นาฏยวิจัย(Performing Arts Research) นาฏยรังสรรค์(Performing Arts Design and Construction) นาฏยธุรกรรม(Performing Arts Management) นาฏยประดิษฐ์(Choreography) นาฏยวรรณกรรม(Performing Arts Literature) นาฏยดุริยางค์(Music) การแสดงและการกำกับการแสดงละคร(Acting and Directing) นาฏยทฤษฎี(Performing Arts Theory)  สำหรับวิชาการฝึกทักษะ(Dance Studios) ซึ่งนิยมแบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ นาฏกรรมไทย(Thai Classical Dance and Dance Drama) นาฏกรรมพื้นบ้าน(Folk Dance and Drama or Ethnic Dance and Drama) นาฏกรรมสากล(Western Dance, Ballet and Contemporary Dance นาฏยประดิษฐ์(Choreography) การแสดงละคร(Acting) การกำกับการแสดง(Directing) นิสิตนักศึกษาต้องทำปริญญานิพนธ์เป็นการสอบออก(Exit Examination) ๓ หมวด คือ การสอบการแสดงเดี่ยว การสอบการสร้างสรรค์งานนาฏกรรม และรายงานการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการสร้างสรรค์นาฏกรรมของแต่ละคน  เมื่อพิจารณาจากหลักสูตรดังกล่าวจะพบว่า การศึกษาสาขานาฏกรรมระดับอุดมศึกษา มีสาระครอบคลุมศิลปศาสตร์หลายสาขาทั้งโดยรอบและโดยลึก ดังจะกล่าวพอเป็นสังเขปดังนี้
นาฏยปริทัศน์ คือ การให้ความรู้ในภาพรวมของการศึกษาสาขาวิชานาฏกรรม บทบาท หน้าที่ รูปแบบ เนื้อหา การออกแบบ การประกอบสร้าง ศิลปศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิชาการทางนาฏกรรม

นาฏยประวัติ(History) คือ ความเป็นมาของนาฏกรรมของโลกตะวันออกและตะวันตก ประวัตินาฏกรรมตะวันออกไม่สามารถบูรณาการเป็นเนื้อหาเดียวกันได้ จึงต้องจัดแบ่งไปตามกลุ่มประเทศซึ่งอิงกับชนเผ่าของโลกตะวันออก ได้แก่ กลุ่มตะวันออกกลาง กลุ่มเอเซียใต้ กลุ่มเอเซียตะวันออก กลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับโลกตะวันตกเน้นยุโรปและอเมริกา เริ่มตั้งแต่อีจิปต์จนถึงปัจจุบัน โดยจัดเนื้อหาตามการจัดยุคของศิลปะตะวันตก เช่น ยุคกรีกและโรมัน(Classic) ยุคกลาง(Medieval) ยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม(Romanesque and Renaissance) ยุคใหม่(Modern) ยุคปัจจุบัน(Contemporary) และยุคหลังยุคใหม่(Post Modern) นอกนั้นยังมีกลุ่มที่ยังไม่ได้จัดความรู้ให้มากพอสำหรับการศึกษาในประเทศไทย ได้แก่ กลุ่มอาฟริกา กลุ่มละตินอเมริกา และกลุ่มโพลีนิเซีย

นาฏยวิจัย(Research) คือ หลักการและวิธีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และแบบผสมผสานทั้งปริมาณและคุณภาพ การวิจัยในแนวประวัติศาสตร์ แนวทดลอง แนวสร้างสรรค์ แนวอาศรมศึกษา การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ ข้อค้นพบ การสรุปความรู้ที่น่าจะเป็นข้อค้นพบใหม่ ๆ

นาฏยรังสรรค์(Design) คือ หลักการออกแบบและก่อสร้างฉาก อุปกรณ์ฉาก เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การแต่งกาย การแต่งหน้า รูปแบบของฉากและเครื่องแต่งกายยุคต่าง ๆ สไตล์ต่าง ๆ คือแบบสมจริง แบบธรรมชาตินิยม แบบนามธรรมนิยม แบบปริมาตรนิยม แบบหน่วยประกอบสร้าง แบบอนาคตนิยม

นาฏยธุรกรรม(Management) คือ หลักการและวิธีการจัดการอาคารการแสดง คณะแสดง การแสดงในสถานที่และนอกสถานที่ การจัดการสถานศึกษาด้านนาฏกรรม การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การจัดการทรัพยากรณ์ การจัดการบุคคลากร กฎหมายแพ่งและพานิชย์ กฎหมายแรงงาน กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

นาฏยประดิษฐ์(Choreography) คือ หลักการและวิธีการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อการฟ้อนรำ การหาข้อมูล แรงบันดาลใจ นวัตกรรมการออกแบบและประกอบสร้าง การกำหนดแนวคิดของเนื้อหาและรูปแบบ การพัฒนาการออกแบบท่าทาง การเคลื่อนไหว แนวทางและการวิเคราะห์ดนตรี ความสัมพันธ์ของการแสดงกับฉาก เครื่องแต่งกาย แสงสีเสียง อุปกรณ์การแสดง การคัดเลือกผู้แสดง การฝึกซ้อม

นาฏยวรรณกรรม(Literature) คือ รูปแบบและเนื้อหาของวรรณกรรมทางการแสดงที่เป็นตัวอย่างที่ดีของวงวิชาการนาฏกรรม การวิเคราะห์โครงสร้างของเรื่อง เนื้อเรื่อง บทเจรจา บุคคลิกลักษณะตัวละคร บริบททางสังคมวัฒนธรรม บัญญัตินิยมของนาฏกรรมแต่ละประ
นำมาใช้ในนาฏกรรม การเปล่งเสียง การขับร้อง บัญญัตินิยมของการใช้ดนตรีในนาฏกรรม รูปแบบของดนตรีแนวต่าง ๆ และยุคต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์นาฏกรรม
การแสดงและการกำกับการแสดงละคร(Acting and Directing) คือ บทบาทหน้าที่และวินัยของนักแสดง หลักการและวิธีการแสดง สาตวิกศิลป์หรือศิลปะแห่งการเลียนแบบ(Imitation Arts) การตีบท การสร้างและส่งอารมณ์ให้ตัวละครอื่นและผู้ดู ปฏิสัมพันธ์ของตัวละครบนเวที บทบาทหน้าที่และวิธีการเป็นผู้กำกับการแสดง การวิเคราะห์บท การปรับปรุงบท การวิเคราะห์ตัวละคร การวิเคราะห์สถานการณ์ของเรื่อง การกำหนดแนวการแสดง การคัดเลือกนักแสดง การสื่อสารกับผู้ร่วมงานด้านต่าง ๆ
นาฏยทักษะ(Studio) คือ การฝึกการแสดงตามแต่ละสาขาตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นสูงเป็นลำดับ มีทั้งหมด ๗-๘ วิชา วิชาทักษะนี้เป็นวิชาปฏิบัติบรรยายที่ต้องมีครูกำกับอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา โดยครูเป็นผู้ปฏิบัติโดยอธิบายและสาธิตเป็นต้นแบบให้นิสิตนักศึกษาทำตามและครูคอยปรับแก้ให้ถูกต้องพร้อมอธิบายความผิดถูกให้เข้าใจและทำซ้ำจนซึมซับเข้าไปในกายตนตั้งแต่ง่ายไปหายาก สำหรับการฝึกด้านการแสดงละครพูดนั้น เป็นการฝึกหัดแสดงบทที่ง่ายเรื่อยไปจนถึงบทที่ต้องแสดงอารมณ์และกิริยาท่าทางของตัวละครอันมีชั้นเชิงซับซ้อน นอกขากนี้ในปัจจุบันยังต้องมีความรู้เรื่องการแสดงทางสื่อต่าง ๆ อีกด้วย
วิชาเลือกที่สำคัญ นอกจากนี้บางหลักสูตร มีวิชาเลือกที่เกี่ยวข้องเช่น วิชาสรีรวิทยา Anatomy เพราะร่างกายนับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสดงและผู้เรียนควรรู้ วิชา นาฏยบำบัด Dance Therapy สำหรับการใช้นาฏยศิลป์รักษาหรือฟื้นฟูผู้ป่วยทำนองเดียวกันกับ ดนตรีบำบัด และวิชา นาฏยอุบัติเหตุ Dance Injury เพื่อป้องกันและปฐมพยาบาลหากเกิดอุบัติเหตุจากการฝึกการซ้อมและการแสดง และเพื่อให้ผู้ศึกษาประกอบกิจการทางนาฏกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้ศึกษาก็ต้องมีความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับงานนาฏกรรม ได้แก่ ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ พานิชยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์
 ความรู้ด้านต่าง ๆ ทางนาฏกรรมที่กล่าวนำมาในเบื้องต้นโดยสังเขปก็เพื่อให้เห็นภาพรวมของสรรพวิชาที่ประกอบกันเป็นนาฏยศาสตร์ สำหรับนาฏยทฤษฎีที่เป็นวิชาสำคัญวิชาหนึ่ง จะได้พรรณนาโดยละเอียดให้เห็นจุดเด่นเป็นพิเศษว่า นาฏกรรมก็มีศาสตร์ชั้นสูงที่ลุ่มลึกของตนโดยเฉพาะ ไม่ใชเป็นเพียงวิชา “เต้นกินรำกิน” อย่างที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
นาฏยทฤษฎี คือ หลักคิดและหลักปฏิบัติของสาขาวิชานาฏกรรม เพื่อเป็นแนวทางสร้างสรรค์ความงามและความสำเร็จของการแสดง  นาฏยทฤษฎีเกิดจากการนำข้อมูลทางนาฏกรรมคือปฏิบัติการทางการแสดงที่สั่งสมมานานหลายพันปีทั้งข้อดีและข้อเสีย มาวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยนักคิดแล้วจารึกไว้เป็นตำราสำหรับผู้มุ่งศึกษาด้านนาฏยศาสตร์สืบมา นาฏยทฤษฎี อาจแบ่งสาระออกได้เป็น ๓ ประการคือ ๑.ปรัชญาของการแสดง ๒.บัญญัตินิยมของการแสดง ๓.วิธีฝึกตนให้บังเกิดสัมฤทธิผลทางการแสดง
นาฏยทฤษฎีที่นิยมนำมาศึกษามี ๔ ทฤษฎี คือ ๑. โพเอติกา ของ อริสโตเติ้ล (กรีก) ๒. นาฏยศาสตรา ของ ภรตมุนี (อินเดีย) ๓. ฟูจิคาเด็ง ของ โมโตกิโย ซิอามิ (ญี่ปุ่น) ๔. สตานิสสลาฟสกี้ซิสเต็ม ของ คอนสแตนติน เซเกเยวิช สตานิสลาฟสกี้ (รัสเซีย) นอกจากนี้ยังมีอีกหลายทฤษฎีที่ผู้ศึกษาด้านนาฏยศิลป์ต้องเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการสร้างสรรค์การแสดงให้สำเร็จ ได้แก่ ทฤษฎีดุริยางคศิลป์ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ทฤษฎีจลนศิลป์(Kinetic Arts)  และ ทฤษฎีนิเทศศิลป์(Communication Arts)
เภท การเขียนบทเพื่อการแสดงประเภทต่าง ๆ
 
                                                                                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น