เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔
กระผมได้รับรางวัลเกียรติยศสูงสุดในชีวิต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
อันเป็นเครื่องหมายสูงสุดทางวิชาการแก่กระผม
กระผมได้รับรางวัลเกียรติยศสูงสุดในชีวิต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
อันเป็นเครื่องหมายสูงสุดทางวิชาการแก่กระผม
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
“เหรียญดุษฎีมาลา ลักษณะเป็นเหรียญเงินรูปไข่กะไหล่ทอง ด้านหน้ามีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เบื้องล่างมีใบชัยพฤกษ์ไขว้ ด้านหลังมีรูปพระสยามเทวาธิราช ทรงพระขรรค์ยืนแท่นพิงโล่
พระหัตถ์ซ้ายทรงพวงมาลา จะสวมที่ตรงจารึกนามผู้รับ เบื้องล่างใต้แท่นที่ประทับมีเลข
๑๒๔๔ ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญ ที่ห่วงเหรียญเป็นรูปพระขรรค์ชัยศรีกับธารพระกรไขว้รองรับแผ่นโลหะ
จารึกอักษรว่า “ทรงยินดี” ห้อยกับแพรแถบกว้าง ๓
เซนติเมตร ริ้วแดงริ้วขาวสำหรับพระราชทานทหารหรือตำรวจ ริ้วขาวริ้วชมพูสำหรับพระราชทานฝ่ายพลเรือน
กับมีเข็มปลายเป็นช่อปทุมทั้งสองข้าง จารึกอักษรว่า “ศิลปวิทยา”
กลัดที่แพรแถบเหนือเหรียญสำหรับประดับที่หน้าอกเสื้อเบื้องซ้าย เหรียญที่พระราชทานสตรี
ใช้ห้อยกับแพรแถบ ผูกเป็นรูปแมลงปอประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย”
เหรียญนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสครบ ๑๐๐ ปีแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พ.ศ.๒๔๒๕ โดยมีพระราชประสงค์ดังนี้
“เข็มที่จาฤกว่าศิลปวิทธยานั้น ไว้สำหรับพระราชทานนักปราชราชกระวี
นายช่างแลฝีมือช่างพิเศศต่าง ๆ ที่ได้คิดอย่างสิ่งของที่จะเปนประโยชนทั่วกัน ครั้งแรกคราวแรก ฤาชักนำสิ่งของใด ๆ เข้ามาทำมาสร้างขึ้นในแผ่นดิน เปนผลประโยชนต่อบ้านเมืองแลราชการ ฤาผู้ที่แต่งหนังสือตำราวิทธยการต่าง ๆ ที่เปน ของเก่าของใหม่ก็ดี ที่เปนคุณต่อแผ่นดิน เปนประโยชนแก่ราชการ เปนผลแก่การค้าขาย ฤาผู้เปนช่างอย่างฝีมือเอก ที่ได้คิดก็ดี ทำเองก็ดี ปรากฏว่าไม่มี ผู้ใดผู้หนึ่งทำได้เสมอดีกว่า แล้วผู้ทำคุณประโยชนดังกล่าวมานี้ ก็จะทรงพระราชดำริหวินิจฉัย พระราชทานเข็มชนิดนี้ให้ตามฐานานุรูป”
โปรดให้สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสครบ ๑๐๐ ปีแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พ.ศ.๒๔๒๕ โดยมีพระราชประสงค์ดังนี้
“เข็มที่จาฤกว่าศิลปวิทธยานั้น ไว้สำหรับพระราชทานนักปราชราชกระวี
นายช่างแลฝีมือช่างพิเศศต่าง ๆ ที่ได้คิดอย่างสิ่งของที่จะเปนประโยชนทั่วกัน ครั้งแรกคราวแรก ฤาชักนำสิ่งของใด ๆ เข้ามาทำมาสร้างขึ้นในแผ่นดิน เปนผลประโยชนต่อบ้านเมืองแลราชการ ฤาผู้ที่แต่งหนังสือตำราวิทธยการต่าง ๆ ที่เปน ของเก่าของใหม่ก็ดี ที่เปนคุณต่อแผ่นดิน เปนประโยชนแก่ราชการ เปนผลแก่การค้าขาย ฤาผู้เปนช่างอย่างฝีมือเอก ที่ได้คิดก็ดี ทำเองก็ดี ปรากฏว่าไม่มี ผู้ใดผู้หนึ่งทำได้เสมอดีกว่า แล้วผู้ทำคุณประโยชนดังกล่าวมานี้ ก็จะทรงพระราชดำริหวินิจฉัย พระราชทานเข็มชนิดนี้ให้ตามฐานานุรูป”
(สะกดการันต์ตามต้นฉบับ)
จึงขอให้บุญกุศลจงมีแก่ทุกท่านจงทั่วกัน
ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์
ราชบัณฑิต สาขาวิชานาฏกรรม
จึงขอให้บุญกุศลจงมีแก่ทุกท่านจงทั่วกัน
ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์
ราชบัณฑิต สาขาวิชานาฏกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น