วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556


นาฏยประดิษฐ์
การออกแบบนาฏกรรม
CHOREOGRAPHY

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์
ราชบัณฑิตสาขาวิชานาฏกรรม

วัตถุประสงค์
}  การออกแบบนาฏกรรม
}  การรายงานการดำเนินงาน
}  การประเมินผลงาน

การออกแบบ
การออกแบบ คือการแปรความคิดให้เป็นความจริง โดยมีขั้นตอน คือ
๑.การกำหนดกรอบความคิด
๒.การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
๓.การกำหนดวิธีสื่อความหมายผ่านการแสดง
๔.การกำหนดปัจจัยในการประกอบสร้าง
๕.การประกอบสร้าง
๖.การประเมินผล

กระบวนการออกแบบ                                                                                                                                       ๑.การเปิดความคิดและสร้างแนวคิด                                                                                                                ๒.การวางเป้าหมาย                                                                                                                                   ๓.การหาข้อมูล                                                                                                                                      ๔.การหาความบันดาลใจ                                                                                                                          ๕.การสรุปความคิดเพื่อทำบทบรรยาย                                                                                                           ๖.การเลือก-ตัดต่อเพลง-แต่งเพลง
         การวิเคราะห์เพลง
         การออกแบบร่าง
         การแก้ไขแบบร่าง
๑๐        การสรุปแบบและทำบทการแสดงพร้อมภาพ
๑๑  การประชุมอธิบายงาน
๑๒        การหัดท่าและทางแก่คนแสดง
๑๓        การทำบทกำกับเวที
๑๔        การซ้อมรวมกับพื้นที่เท่าจริง
๑๕        การซ้อมเพื่อพัฒนารายละเอียด
๑๖        การซ้อมแต่งกาย อูปกรณ์แต่งกาย
๑๗        การซ้อมฉาก อุปกรณ์ฉาก
๑๘        การซ้อมเทคนิก แสงสี เสียง
๑๙        การซ้อมใหญ๋
๒๐        การแสดงจริง
๒๑        การบันทึกวีดิทัศน์
๒๒        การประเมินผล

๑.การเปิดความคิดและการสร้างแนวคิด
}  การเริ่มทำการใด ๆ ที่เป็นของใหม่ต่างไปจากของเดิม ต้องเปิดความคิดให้กว้างเพื่อหาลู่ทางให้สิ่งใหม่ ๆ ใหลเข้ามาในสมอง มิฉะนั้นก็ใม่อาจคิดให้มีสิ่งใหม่เกิดขึ้นได้ เพราะไม่รู้ว่าจะเอาความใหม่มาจากไหน
}  การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในสมองก็ต้องใตร่ตรองให้รอบคอบว่า จะเอาสิ่งใดมาและนำมาทำอะไรเพื่ออะไร ดังนั้นต้องวางแนวคิดให้ชัดเจนเสียตั้งแต่แรกว่า ผลงานที่จะสร้างสรรค์นั้นเป็นแนวใด รัก โศก โกรธ เกลียด กลัว กล้า ฯลฯ

๒.การวางเป้าหมาย
}  การสร้างสรรค์งานใหม่ต้องมีการวางเป้าหมายให้แม่นยำ ว่าทำอะไร ทำโดยใคร ทำไปทำไม ทำให้ใครดู ทำแล้วได้ประโยชน์อะไร ทำแล้วคุ้มค่าของเงิน เวลา คน ฯลฯ หรือไม่
}  การวางเป้าหมายต้องมีการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในเรื่อง คน ของ เงิน วิธีทำงาน และ การจัดการ
}  นอกจากนี้ยังต้องคำนึงว่า ผลงานนั้นเมื่อแสดงออกไปแล้วจะถูกต้องโดย บุคคล กาละ เทศะ หรือไม่เพียงใด

๓.การหาข้อมูล
}  การสร้างสรรค์ใด ๆ ต้องเริ่มด้วยการศึกษาหาข้อมูลมาเป็นปัจจัยในการคิดออกแบบ ข้อมูลบางอย่างก็มีสะสมมาในตนแล้วจากประสบการณ์ แต่ไม่เพียงพอต่อการคิดอะไรใหม่ ๆ
}  การหาข้อมูลคือการค้นคว้าจากเรื่องราวในเอกสาร เช่น  วรรณกรรม ธรรมะ ข่าวอาชญากรรม

๔.การหาความบันดาลใจ
}  การหาข้อมูลเท่านั้นไม่เพียงพอที่คิดอะไรได้กว้างไกล เพราะข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อความจากเอกสาร ที่ต้องใช้จินตนาการอย่างมากเพื่อให้เห็นเป็นภาพและเสียง ดังนั้น
}  การหาความบันดาลใจจากการศึกษาตัวอย่าง ด้วยการดูการฟัง ผลงานสร้างสรรค์ที่คนในวงการเขานับถือว่ามีความงดงาม มีความหมายลึกซึ้ง มีมาตรฐานการแสดงสูง
}  การศึกษาตัวอย่าง เป็นการสะสมแรงบันดาลใจอันเปรียบเสมือนการเติมพลังสมอง ไม่ใช่การลอกเลียน แต่ค้นหาให้ได้ว่าเขาฉลาดคิดได้อย่างไรจะได้จำความคิดของเขามาประยุกต์กับการสร้างสรรค์ของตน

๕.การสรุปความคิด-ทำบทบรรยาย
}  เมื่อได้ศึกษาข้อมูลและสิ่งบันดาลใจพอสมควรแล้ว ก็ต้องสรุปเป็นความคิดของตนที่ยุติและชัดเจน จากนั้นก็เขียนเป็นบทบรรยายหรือสคริปต์เป็นเรื่องที่ต้องการให้ดำเนินไปตั้งแต่ต้นจนจบ
}  บทบรรยายประกอบด้วยโครงเรื่อง การดำเนินเรื่องบุคลิกตัวแสดง การเข้าออกของตัวแสดง อารมณ์หลักของชุดที่แสดง อารมณ์ที่แปรไปในแต่ละช่วง การจบ การแปรแถว การตั้งซุ้ม ฯลฯ  

๖.การเลือก-ตัดต่อ-แต่งเพลง
}  การแสดงนาฏกรรมต้องเพลงและหรือเสียงประกอบ
}  การทำเพลงมีหลายวิธี เช่น ใช้เพลงเดียวที่ตรงหรือใกล้เคียงกับแนวคิด ใช้เพลงหลายท่อนมาตัดต่อให้เหมาะกับแต่ละช่วง หรือใช้เพลงที่แต่งขึ้นใหม่
}  นอกจากเพลงแล้วยังมีการใช้เสียงประกอบ เช่นเครื่องจังหวะ และเสียงพิเศษ หรือบางกรณีอาจใช่เพียงเสียงประกอบ จากอุปกรณ์การแสดง เช่น รองเท้าไม้
}  การใช้เพลงหรือเสียงพิเศษ อาจเพียงประกอบการสร้างอารมณ์ให้แก่การแสดง ไม่ได้ใช้เพื่อประกอบการเคลื่อนไหว

๗.การวิเคราะห์เพลง
}  การรู้จักเพลงที่เลือกมาใช้เป็นอย่างดี จะทำให้การออกแบบการแสดงมีความสัมพันธ์เพลงจนสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้คนดูเพลิดเพลินทั้งการดูและฟัง อีกทั้งทำให้คนดูเห็นปัญญาของคนออกแบบว่า สามารถแยกแยะเสียงหลัก เสียงรอง เสียงประสาน
}  และจัดให้ตัวแสดงแต่ละตัวเคลื่อนไหวไปในลีลาและอารมณ์ที่เกาะเกี่ยวไปกับเสียงใดเสียงหนึ่งในบางช่วงเวลา และเคลื่อนไหวไปในท่าทางและอารมณ์ร่วมกันในบางเวลา

๘.๑.การออกแบบร่าง ขั้นที่ ๑
}  แบบร่างเป็นสิ่งแรกที่คนออกแบบจะถ่ายทอดความคิดและเสียงเป็นภาพ
}  แบบร่างขั้นที่ ๑ เป็นการกำหนดท่ารำและ/หรือท่าเต้นจำนวนหนึ่งที่เหมาะกับการแสดงนั้นทั้งรูปแบบของท่าและจำนวนท่า ท่าเหล่านี้ควรเป็นท่าที่คนแสดงรำหรือเต้นได้ดีทั่สุด
}  ท่า ๑ ท่า ประกอบด้วย ๓ ท่าเริ่ม ท่าเชื่อม ท่าจบ เปรียบเสมือนคำพูด ๑ คำ
}  ท่า ๑ ท่า สามารถแปรได้เป็นหลายทางหรือทิศทาง เช่น สูง ต่ำ หน้า หลัง ซ้าย ขวา ทะแยงมุม เอนลำตัวเป็นมุมต่าง ๆ และการบิดตัว เปรียบเสมือนการสร้างลายมือ
}  ท่า ๑ ท่า อาจใช้พลังมากหรือน้อยแล้วแต่กรณีเปรียบเสมือนการสร้างเสียงวรรณยุกต์

๘.๒.การออกแบบร่างขั้นที่ ๒
}  แบบร่างขั้นที่ ๒ เป็นการเรียงร้อยท่าต่าง ๆ  หรือคำหลายคำให้เป็นวลี ที่สอดประสานกับเสียงและท่วงทำนองของแต่ละท่อน
}  คนแสดงแต่ละคนอาจมีท่าเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ของตน และมีท่าร่วมกับตัวแสดงอื่น ๆ ณ เวลากัน
}  คนแสดงแต่ละคนอาจเข้า-ออกเวทีพร้อมกันบ้าง ต่างเวลากันบ้าง ในทิศทางเดียวกัน-ต่างกันบ้าง เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางภาพโดยรวม

๘.๓.การออกแบบร่างขั้นที่ ๓
}  แบบร่างขั้นที่ ๓ เป็นการวางผังของการแปรแถวและการตั้งซุ้ม
}  การแปรแถวเปรียบเสมือนการออกแบบลายผ้า
}  การตั้งซุ้มเปรียบเสมือนการยกดอก
}  การสร้างลายและดอกเปรียบเสมือนการประพันธ์ที่ต้องมีจังหวะจะโคน มีช่องไฟ มีถี่ มีห่าง มีหนักเบา มีหนา มีบาง มีอ่อน มีแข็ง มีหยุด มีชะลอ มีเปลี่ยนทาง มีช้า มีเร็ว ฯลฯ

๙.การแก้ไขแบบร่าง
}  การออกแบบที่ดีไม่ได้ยุติที่การทำแบบร่างเพียงครั้งเดียว
}  เมื่อนำแบบร่างครั้งที่ ๑ ไปทดลองแสดงดูก็จะพบข้อบกพร่อง เช่น ความไม่ลงตัว คนแสดงมีความสามารถจำกัด และอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเห็นได้บนภาพร่าง
}  คนออกแบบต้องนำข้อบกพร่องเหล่านั้นมาปรับให้ราบรื่นและลงตัว

๑๐.การสรุปแบบ-ทำบทการแสดง
}  เมื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ แล้ว ก็จัดทำบทอธิบายการแสดงพร้อมภาพรูปด้าน-ผังพื้นโดยละเอียด
}  การแสดงนาฏกรรมชุดหนึ่ง ๆ มักมีความยาวประมาณ ๘ นาที ซึ่งเป็นความยาวที่คนดูมีสมาธิกับการแสดงหนึ่งช่วงอย่างเต็มที่
}  แบ่งเวลาในการแสดงเป็นช่วง ๆ ละ ๑ ห้องดนตรีหรือ ๘ ตัวโน๊ต คือประมาณ ๘ วินาที
}  จัด ท่า ทาง แถว ของแต่ละคนแสดงให้ลงกับแต่ละห้องหรือหลายห้องตามที่ออกแบบไว้ให้ชัดเจน
}  กำหนดจุดที่มีการตั้งซุ้ม
}  กำหนดรูปแบบการเริ่ม ตำแหน่งและรูปแบบไคลแมกซ์ และรูปแบบการจบ

๑๑.การประชุมอธิบายงาน
}  การสร้างงานนาฏกรรมเป็นการทำงานเป็นกลุ่ม ผู้ออกแบบ ต้องสื่อความคิดของแบบที่ตนออกนั้นให้ผู้ร่วมงานทราบอย่างละอึยดชัดเจน และต้องรับฟังความคิดของเขาเหล่านั้นด้วย เพื่อปรับแบบให้เป็นไปตามแนวคิดของผู้ออกแบบที่ตั้งไว้ได้จริง
}  ในลำดับนี้ผู้ร่วมงานทุกคนควรมีบทการแสดงไปศึกษาและใช้ปัญญาหาทางขจัดข้อสงสัยในรายละเอียดของการทำงานระหว่างตนกับผู้ออกแบบ และกับผู้ร่วมงานในหน้าที่ต่าง ๆ

๑๒.การหัดท่าและทางแก่ผู้แสดง
}  ท่าที่คนออกแบบคิดขึ้นอาจแปลกไปจากที่เคยแสดงมาก่อน หรือมีราบละเยดบางอย่างที่เป็นลักษณะเฉพาะของแบบที่ออก ดังนั้นคนออกแบบต้องบอกคนแสดงตั้งแต่แรก เรื่องนี้อาจเปรียบได้กับการกำหนดแบบตัวอักษรที่ต้องการใช้ว่า เป็นตัวอักษรแบบมีหัว แบบตัวเอน แบบมีหางยาว แบบตัวกลมฯลฯ ทั้งนี้เพื่อมิให้คนแสดงทำท่าที่หลุดออกไปจากกรอบของแบบที่กำหนด
}  ทางในที่นี้คือผังทิศทางการเคลื่อนไหวของคนแสดงแต่ละคนแต่ละกลุ่มว่าจะไปในทิศทางใด จากจุดใดไปยังจุดใดด้วยเส้นตรง คดเคี้ยว หักมุมตรงไหน สวนมางหรือปะทะ หรือรวมกลุ่มกรือแตกกลุ่มอย่างไร

๑๓.การทำบทกำกับเวที
}  การทำบทกำกับเวที เป็นการกำหนดลำดับหรือคิวของคนแสดง เครื่องแต่งกาย อูปกรณ์การแสดง ฉาก อุปกรณ์ฉาก แสงสี เสียงฯลฯ ที่มาจากการซ้อมรวมเพื่อให้แม่นยำเวลาแสดง

๑๔.การซ้อมรวม
}  การซ้อมรวมกับพื้นที่จริง เป็นการมองภาพรวมครั้งสำคัญ เพื่อปรับปรุงจุดบกพร่องที่เกิดจากรอยต่อของแต่ละส่วนของการแสดงให้ราบรื่น
}  การซ้อมรวมเปรียบเสมือนการร่างภาพคร่าว ๆ ลงบนกระดาษ ให้เห็นองค์รวมว่าความคิดและจินตนาการในสมองนั้น ปรากฏเป็นจริงต่อสายตาอย่างคร่าว ๆ ได้อย่างไร ก่อนการปรับแก้และลงรายละเอียด

๑๕.การซ้อมรวมเพื่อพัฒนาละเอียด
}  การซ้อมรวมเพื่อพัฒนารายละเอียด เป็นการปรับปรุงรายละเอียด ณ จุดสำคัญ เช่น ตำแหน่งระยะต่อระยะเคียงทิศคนเต้นกับคิวแสงไม่ลงตัว คิวออกเข้าเวทีไม่พร้อมกัน ตั้งซุ้มไม่ราบรื่น หรือมีจุดที่ทำท่าซ้ำ ๆ กันมากไป หรือมีหลายท่าเกินไป หรือยังสื่อความหมาย-อารมณ์ไม่ชัดเจน การเปลี่ยนอารมณ์จากช่วงหนี่งไปอีกช่วงหนึ่งไม่สัมพันธ์กับอารมณ์เพลง เป็นต้น
}  การพัฒนารายละเอียดเปรียบเสมือนการพิสูจน์อักษรครั้งสุดท้ายก่อนพิมพ์

๑๖.การซ้อมแต่งกาย อุปกรณ์แต่งกายจริง
}  เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์แต่งกายจริง อาจเป็นเรื่องใหม่ของคนแสดงเช่นการนุ่งโจงกระเบน การถือร่ม การถือดาบ การสวมกระโปรงสุ่มขนาดใหญ่ การใช้พัด การใช้พลอง เหล่านี้ อาจใช้ของปลอมเพื่อฝึกซ้อมตอนต้น แต่บัดนี้ต้องใช้ของจริงเพราะรูปแบบ ขนาด และนำหนักจะต่างกันมาก คนแสดงอาจทำได้ไม่ดีเพราะไม่คุ้นเคย และอาจทำผิดพลาดเมื่อแสดงจริง

๑๗.การซ้อมฉาก อุปกรณ์ฉากจริง
}  ฉากและอุปกรณ์ฉากเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศและมายาของการแสดง แท่นต่างระดับ บันได ทางลาด แผงบัง เชือก ลูกกรง ตาข่าย ฯลฯ ล้วนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมนาฏกรรมให้มีหลากหลายมิติกว่าการเคลื่อนไหวในแนวราบเท่านั้น
}  การจัดวาง การนำเข้าออก ฉากและอุปกรณ์ ณ เวทีเป็นเรื่องที่ต้องซ้อม ต้องทำเครื่องหมาย ต้องกำหนดว่าเอกชิ้นไหนเข้าหรือออกเมื่อใดอย่างไรคนฉากใดรับผิดชอบชิ้นไหน ทั้งนี้เพื่อมิให้ขัดกันเองหรือกระทบเส้นทางคนแสดง

๑๘.การซ้อมเทคนิก แสงสี เสียง
}  แสง สี เสียง เทคนิกพิเศษ เป็นขั้นตอนที่จะทำให้การแสดงสมบูรณ์ มีสี มีเงา ทำให้มีความลึก มีความขลัง มีความสมจริง
}  คนแสดงกับคนเทคนิกต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษเพราะ ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินตามคิวไปพร้อมกันตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มต้นด้วยฝ่ายแสงเสียง ทำตามความต้องการของฝ่ายแสดง และให้คำแนะนำในกรณีที่มีข้อจำกัดด้านเทคนิกที่ฝ่ายการแสดงต้องปรับตามฝ่ายเทคนิกบ้าง
}  ในขณะแสดงนั้นคนแสดงต้องแม่นยำในตำแหน่งต่าง ๆ มิฉะนั้นก็พลาดคิวแสงหรือเสียง

๑๙.การซ้อมใหญ่
}  การซ้อมใหญ่เป็นการประกอบปัจจัยการแสดงทุกอย่างเข้าด้วยกัน โดยดำเนินตามบทกำกับเวทีเป็นหลัก เพื่อดูองค์รวมของการแสดงเพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนการสดงจริง
}  การซ้อมใหญ่บางครั้งจะเชิญบุคคลสำคัญหรือผู้เชี่ยวชาญที่อาจให้ข้อคิดเห็นติชม ในประเด็นที่อาจคาดไม่ถึง จะได้แก้ไขได้ทัน นอกจากนี้อาจจัดเป็นรอบสื่อมวลชนเพื่อให้เวลาไปทำข่าวถึงคนดู
}  การซ้อมใหญ่อาจมีคนดูกลุ่มเป้าหมายจำนวนหนึ่งที่เชิญมาเพื่อทดสอบความสำเร็จของผลงานในเบื้องต้น

๒๐.การแสดงจริง
}  การแสดงจริง เป็นสิ่งที่พิสูจน์ผลงานต่อคนดู แต่ในการแสดงจริงมักมีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นเสมอ เช่นระบบเสียง แสง การลำเลียงสัมภาระ ฯลฯ
}  การวางแผนแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้าเป็นสิ่งต้องเตรียม หากเกิดขึ้นจริงจะได้ไม่ตื่นตระหนก และมีสติแก้ไขได้ทันที

๒๑.การบันทึกวีดิทัศน์
}  การบันทึกวีดิทัศน์ของการแสดงควรทำหลังการแสดงจริง เพราะการแสดงจริงเป็นการแสดงบนเวที อาจมีเสียงจากคนดูแทรก มีคนดูลุกนั่งบังกล้อง มีบางมุมที่กล้องเคลื่อนไหวไม่ทัน และมีบางขณะที่คนแสดงอาจปฏิบัติได้ไม่สมบูรณ์
}  การบันทึอวีดิทัศน์ ต้องแบ่งการแสดงเป็นช่วงสั้น ๆ โดยบันทึกเสียงเป็นหลักไว้ก่อน จากนั้นก็ดำเนินการแสดงเป็นลำดับไป
}  การแสดงผ่านทางวีดิทัศน์ ต่างจากการสดงบนเวทีหลายประการ คือ ๑.มุมกล้องที่ทำให้ภาพดูงาม ๒.แสงที่กล้องบันทึกได้งาม ๓.มุมกล้องที่คนดูหน้าเวทีไม่ได้เห็น ฯลฯ

๒๒.การประเมินผล
}  การแสดงนาฏกรรม มีเป้าหมายที่สื่อสารกับคนดูทั้งอรรถและรส คือเนื้อหาและอารมณ์ ดังนั้นการประเมินผลของการแสดงจึงเป็นการตรวจสอบว่า คนดูได้รับในสิ่งต่าง ๆ ที่คนทำนำเสนอหรือไม่แค่ไหนเพียงใด
}  ดังนั้นแบบประเมินจึงต้องตั้งคำถามคนดูให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แต่แรก ดังนี้
๑.ดูแล้วได้ประเด็นที่นำเสนอกี่ประเด็นอะไรบ้าง และประเด็นนั้นสำคัญต่อความคิดหรือการกระทำของท่านไม่เพียงใด อีกทั้งท่านจะนำประเด็นเหล่านั้นไปพูดคุยหรือบอกต่อหรือไม่
๒.ศิลปะและเทคนิกที่นำเสนอเหมาะสมในแง่ความคิดและความงามหรือไม่เพียงใด
}  การประเมินทำได้ทั้งแบบสอบถามที่จะได้คำตอบทางกว้างและการจัดกลุ่มสนทนาหลังการแสดง ซึ่งจะได้สัมภาษณ์ทางลึก

                                                            จบ

 

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น