ทำอย่างไรให้งานศิลปะเป็นวิชาการ ศาสตราจารย์กิตติคุณ
ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต สาขาวิชานาฏกรรม
(งาน “การนำเสนอผลงานวิจัยห่งชาติ
๒๕๕๕” เรื่องการสร้างมาตรฐานวิชาการงานศิลป์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สาขาปรัชญา ณ เซ็นทรัลเวิลด์
กรุงเทพมหานคร ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๕)
การวิจัยศิลปกรรม
หมายถึงการค้นคว้าหาความรู้้เพื่อประกอบการสร้างสรรค์
และการได้มาซึ่งข้อค้นพบสำหรับผลงานทางศิลปะทั้งศิลปะบริสุทธิ์และศิลปะประยุกต์
ศิลปะบริสุทธิ์
คือผลงานที่มุ่งสร้างเพื่อแสดงความงามอย่างยิ่งของรูปทรงสีสันลวดลายชวนชม ศิลปะประยุกต์ คือผลงานที่มุ่งสร้างเพื่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์และมีความงดงามชวนใช้
การวิจัยศิลปกรรม เป็นการแสดงปรากฏการณ์ทางวิชาการ ใน ๒ ประการสำคัญ คือ
๑. การนำวิชาการอะไรมาใช้อย่างไรในการประกอบสร้างผลงาน ๒. การประกอบสร้างทำให้เกิดวิชาการอะไรและคาดว่าจะเป็นประโยชน์อย่างไร
การค้นคว้าเพื่อนำความรู้มาประกอบสร้างงานศิลปกรรมมี ๗ ขั้นตอนสำคัญที่ควรมีคำอธิบายทางวิชาการดังนี้
๑. การกำหนดแนวคิด conceptual design ๒. การออกแบบร่าง sketch design ๓. การพัฒนาแบบ design development ๔. การประกอบสร้าง design construction ๕. การเก็บรายละเอียด design refinement ๖. การนำเสนอผลงาน design presentation ๗.การประเมินผล design evaluation
๑. การกำหนดแนวคิด conceptual design ๑.๑ ความคิดที่จะสร้างสรรค์งานชิ้นนี้เกิดจากสิ่งใดบ้าง ๑.๒ การนำความคิดจากสิ่งเหล่านั้นมาประมวลกันเป็นแนวคิดของท่านมีวิธีการอย่างไร ๑.๓ แนวคิดที่เกิดขึ้นมักมีหลายแนว
ท่านเลือกแนวใดมาพัฒนา เพราะเหตุใด และมีวิธีการอย่างไร ๑.๔
แนวคิดของท่านมักมีกรอบความคิดกำกับ ท่านจำกัดขอบเขตของงานศิลปกรรมอย่างไร
๒.
การออกแบบร่าง sketch design
๒.๑ การออกแบบร่าง เป็นการแปรความคิดในข้อที่ ๑ ให้เป็นรูปร่างชัดเจนแทนคำอธิบาย ท่านแปรอย่างไร ๒.๒ การออกแบบร่างอาจมีหลายชิ้นเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ จากนั้นท่านเลือกแบบใดแบบหนึ่งมาพัฒนาต่อ ท่านมีเหตุผลทางวิชาการในการเลือกอย่างไรเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจ
๒.๑ การออกแบบร่าง เป็นการแปรความคิดในข้อที่ ๑ ให้เป็นรูปร่างชัดเจนแทนคำอธิบาย ท่านแปรอย่างไร ๒.๒ การออกแบบร่างอาจมีหลายชิ้นเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ จากนั้นท่านเลือกแบบใดแบบหนึ่งมาพัฒนาต่อ ท่านมีเหตุผลทางวิชาการในการเลือกอย่างไรเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจ
๓.
การพัฒนาแบบ design development ๓.๑ การพัฒนาแบบร่างที่เลือกแล้วในข้อที่ ๒ ให้เป็นแบบจริงที่มีรายละเอียดครบถ้วนมีขั้นตอนอย่างไร ๓.๒ การทำแบบจริงต้องคำนึงถึงปัยจัยในการประกอบสร้างหลายอย่าง อาทิ วัสดุ
วิธีการ ขั้นตอนการทำงาน
เทคนิกพิเศษ รายละเอียดที่สำคัญ การปรับแบบให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ท่านใช้วิชาการในแต่ละขั้นตอนอย่าง
อธิบายการปรับทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จหรือสำเร็จน้อยกว่าที่ท่านมุ่ง ๓.๓
การทำแบบจริงมักมีการเขียนแบบรายละเอียดเท่าจริงในบางรายการเพื่อให้นำไปใช้ในการประกอบสร้างได้แม่นยำ
ท่านมีวิธีเขียนแบบรายละเอียดที่ว่านี้อย่างไร ๓.๔
การทำแบบจริงบางกรณีมีการทำหุ่นจำลองย่อส่วนบ้างเท่าจริงบ้างแล้วแต่กรณี
ท่านเลือกทำชนิด ใดชนิดหนึ่งหรือไม่เพราะเหตุใด
หากทำมีขั้นตอนและวิธีการย่างไร
๔.
การประกอบสร้าง design construction ๔.๑
การประกอบสร้างเป็นการผลิตผลงานจริง ท่านต้องจัดเตรียมปัจจัยต่าง
ๆ ในการประกอบสร้างอย่างไร ๔.๒
การประกอบสร้างมีขั้นตอนโดยละเอียดอย่างไรบ้าง แต่ละขั้นตอนมีความสำคัญอย่างไร ๔.๓
ในระหว่างการประกอบสร้างมักมีปัญหาเกิดขึ้นในลักษณะต่าง
ๆ ท่านทราบเหตูแห่งปัญหาและใช้หลักวิชาใดแก้ไขให้สำเร็จลุล่วง ๔.๔
การประกอบสร้างอาจทำให้ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ ท่านถอดประสบการณ์เหล่านั้นมาเป็นได้หรือไม่อย่างไร
๕. การเก็บรายละเอียด design refinement ๕.๑
การเก็บรายละเอียดเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้ผลงานศิลปะสมบูรณ์
ท่านได้ทำงานขั้นตอนนี้อย่างไรบ้าง
แต่ละขั้นตอนมีวิธีการเก็บรายละเอียดอย่างไร ๕.๒
ผลของการเก็บรายละเอียดทำให้งานศิลปะดีขึ้นกว่าก่อนการเก็บรายละเอียดอย่างไร ๕.๓
การเก็บรายละเอียดมีความรู้ใหม่ที่ท่านพบหรือไม่ อะไรบ้าง
๖.
การนำเสนอผลงาน design presentation ๖.๑
ผลงานศิลปกรรมย่อมมีรูปลักษณ์แตกต่างกันไปตามสาขาวิชาและเฉพาะชิ้นงาน
ซึ่งต้องมีการนำผลงานมาเสนอให้สาธารณชนได้ดูได้ฟัง ดังนั้นการนำเสนอผลงานจึงต้องมีวิธีการที่เหมาะสม
ท่านมีวิธีการนำเสนออย่างไรบ้าง และวิธีที่ท่านตัดสินใจเลือกทำนั้นดีอย่างไร ๖.๒ การตัดสินใจเลือกเลือกบุคคล วันเวลา สถานที่
และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอผลงาน ๖.๓ การประมาณการผลลัพท์และผลที่ได้รับจริง (จำนวนวัน เวลา รอบที่แสดง
คนดู ฯลฯ)
๗.
ประโยชน์ใช้สอยทางกายและใจที่ผู้ใช้งานประเมิน ๗.๑
คนไปชมนิทรรศการทางทัศนศิลป์หรือศิลปะการแสดง ควรมีการนับจำนวนและการประเมิน ความคิดเห็น วิธีการควรเป็นอย่างไร เหตุผลในการเลือกวิธีนั้น ๗.๒
ข้อมูลของผู้ชมควรอภิปรายให้เห็นว่ามีผล
อย่างไรต่องานศิลปกรรมที่จัดแสดง ๗.๓
ความคิดเห็นของผู้ชมที่กรอกแบบสอบถาม หรือเขียนลงในสมุดเยี่ยมชมเป็นอย่างไรและสะท้อนแนวทางอะไรต่องานศิลปกรรมที่แสดง
สรุป กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมควรมีการบันทึกความรู้ทางวิชาการ
๓ ประการ ๑. ความรู้ที่ค้นคว้ามาใช้ในการออกแบบและประกอบสร้าง
๒.
ความรู้ที่ค้นคว้ามาใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อให้ การทำงานดำเนินไปได้ด้วยดี ๓. ความรู้ที่เกิดขึ้น “ใหม่”
จากการสร้างผลงานศิลปะชิ้นนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น